พุยพุย

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 วันจันทร์ที่17ตุลาคม2559

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  • ปั้มใบมาเรียน
  • ทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา สรุปให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นทำให้เห็นถึงความเเตกต่างในเเต่ละฐานและกระบวนวิธีการทำต่างๆ
  • ชิ้นงานที่ทำออกมาในเเต่ละฐาน จะเเสดงความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลยั้ยออกมา
  • ผลงานของเด็กที่ทำร่วมกันในห้องเรียน ต้องได้นำเสนอเหมือนกันทุกคน
*****เมื่อพูดทบทวนสรุปชิ้นงานในสัปดาห์ที่ผ่านมาเสร็จแล้ว ก็แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้เเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ให้วาดรูปทรงเรขาคณิตคนละ 1 รูปโดยภายในกลุ่มห้ามซ้ำกัน  เมื่อแต่ละคนวาดรูปทรงของตัวเองเสร็จแล้ว ให้แต่งเติมรูปทรงของตัวเอง เเต่จะต้องให้รูปทรงนั้นโดดเด่นที่สุด




*****เมื่อวาดเสร็จแล้วให้นำรูปที่วาดไปติดบนกระดานหน้าห้องทีละกลุ่ม หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามถึงเหตุผลที่วาดรูปนี้ ทุกสิ่งที่นักศึกษาวาดออกมาล้วนอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น
*****แล้วให้นำกลับมาระบายสีตกเเต่งให้สวยงาม แล้วตัดแปะกับกระดาษร้อยปอนด์ ของตัวเอง หลังจากนั้นก็จะเอามารวมเล่มกัน





การนำมาประยุกต์
นำรูปทรงต่างๆในชีวิตประจำวันมาประดิษด์สิ่งของเครื่องใช้ได้ การนำสิ่งที่มีอยู้รอบตัวๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่าย มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี มีอุปกรณ์ให้






วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6 วันจันทร์ที่10ตุลาคม2559

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  • ปั้มใบมาเรียน
  • ความคิดสร้างสรรค์

      ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและ แปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ 

ลักษณะความคิดสร้างสรรค์

          ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย(Divergent Thinking)คือการคิดหลายๆแง่หลายๆทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมีออกรอบด้าน คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็น
คนที่มี
   1. ความคิดริเริ่ม(Originality)  คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิดธรรมดาของคนทั่วๆไป
   2. มีความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทางหลายแง่หลายมุม
   3. มีความคิดคล่องแคล่ว(Fluency)  คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด
   4. มีความคิดละเอียดลออ(Elaboration) คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น       

  • กิจกรรม แบ่งออกเป้น 4 ฐาน
  1. ตัดแกนทิชชู แล้วเจาะรู นำเชือกมาร้อย ตกแต่งให้สวยงามโดยเป็นรูปแมลงชนิดต่างๆ
  2. ให้เป่าฟองสบู่ที่มีสีสันสดใสลงบนกระดาษ
  3. ใช้สีระบายลงบนมือเเล้ววางทับกระ ตัดให้เป็นรูปผีเสื้อ
  4. จานกระดาษ ใช้จานกระดาษสร้างสรรค์ผลงานให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
ภาพกิจกรรม ฐานที่1
ตัวด้วง(แมงคาม)



ภาพกิจกรรม  ฐานที่2
เป่าฟองสบู่


ภาพกิจกรรม  ฐานที่3



ภาพกิจกรรม  ฐานที่4
ลูกข่างจานกระะดาษ





การนำมาประยุกต์ใช้
นำไปสอนเด็กให้เด็กรู้จักกระบวนการทำที่เป็นขั้นตอน นำไปสอนในวิชาศิลปะได้ทำให้เด็กสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติม เป็นกันเอง 












บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 วันจันทร์ที่3ตุลาคม 2559


เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
  • นำเสนอ STEM&STWAM
โดยให้เเต่ละกลุ่มออกมานำเสนอว่ากลุ่มของตนเองทำอะไร นำกิจกรรมอะไรมาให้เพื่อนๆในห้องได้ทำ

   กลุ่มที่1 หน่วยปลา 

กิจกรรม สร้างบ่อปลา

อุปกรณ์ 
  • กระดาษลัง
  • ดินน้ำมัน
  • ถุงใส
  • กระดาษสีต่างๆ
  • ไม้จิ้มฟัน
โดยให้สร้างบ่อปลาตามจินตนาการของเเต่ละกลุ่ม มีเวลาให้กลุ่มละ30นาที 

รูปการทำกิจกรรม






กลุ่มที่2 หน่วยยานพาหนะ

กิจกรรม สร้างถนน

อุปกรณ์
  • กระดาษลัง
  • สี
  • ดินน้ำมัน
ให้สร้างถนนและยานพาหนะตามจินตนาการ ให้เวลากลุ่มละ 30 นาที

ภาพกิจกรรม









กลุ่มที่3 หน่วย ข้าว

กิจกรรม ทำหุ่นไล่กา

อุปกรณ์
  • ช้อนพลาสติก
  • ไหมพรม
  • กระดาษ
  • ปากกาเคมี
  • ก้านไม้กวาด
ให้แต่ละคน ทำหุ่นไล่กาขึ้นมาคนละ 1 ตัว ตกเเต่งให้สวยงาม

ภาพกิจกรรม












กลุ่มที่4 หน่วยไข่

กิจกรรม เอ็กอนาโตมี่

อุปกรณ์
  • สี
  • ภาพไข่
ให้เเต่ละกลุ่มระบายรูปภาพของใคร

ภาพกิจกรรม



กลุ่มทที่5 หน่วยบ้าน

 กิจกรรม วาดรูปบ้านของฉัน

อุปกรณ์
  • กระดาษเอสี่
  • สี
ให้แต่ละกลุ่มวาดรูปบ้านในฝันของตนเอง

ภาพกิจกรรม






  กลุ่มที่6 หน่วยข้าว 

กิจกรรม วาดรูปนาข้าว

อุปกรณ์
  • กระดาษเอสี่
  • สี
ให้เเต่ละกลุ่มวาดรูปนาข้าว

ภาพกิจกรรม




         สรุปการทำกิจกรรมในวันนี้ ถ้าเราทำตัวอย่างมาให้เพื่อนๆในห้องดูเพื่อนๆก็จะสามารถทำผลงานเสร็จได้เร็วเพราะมีตัวอย่าง แต่ถ้าหากไม่มีก็จะทำให้เสร็จช้า เพราะมองรูปแบบของกิจกรรมไม่ออกว่ามีลักษณะอย่างไร


การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมในหน่วยต่างๆไปปรับใช้กับเด็ก เช่น การนำเด็กเข้าสู่บทเรียน การเรียนการสอนดดยใช้กิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารยืแต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะให้คำแนะนำและสรุปเกียวกับกิจกรรมที่ทำ